Article

บทความ

ดาวน์ซินโดรม ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของทารกอย่างไรบ้าง?


คุณแม่อาจรู้จักลักษณะทางกายภาพของเด็กที่คลอดออกมาพร้อมกับภาวะดาวน์ซินโดรมแล้ว เช่น มีความห่างของตาที่มากกว่าปกติ มีหางตาชี้ขึ้น แต่นั่นเป็นเพียงแค่ความผิดปกติด้านร่างกายของทารก ซึ่งทารกที่คลอดออกมาพร้อมกับภาวะนี้ มักมีความผิดปกติด้านร่างกาย และด้านอื่นร่วมด้วย เรามาทำความรู้จักกับการได้รับผลกระทบจากภาวะดาวน์ซินโดรมนี้กันค่ะ 

ลักษณะด้านร่างกาย

อาการทางกายภาพของดาวน์ซินโดรมมักเกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิด และชัดเจนมากขึ้นเมื่อทารกโตขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

- สะพานจมูกแบน
- หางตาชี้ขึ้น และตาห่าง
- คอสั้น
- ขา แขน สั้น
- หู มือ และเท้าเล็ก
- กล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด
- นิ้วก้อยเล็กกว่าปกติ ชี้เข้าหานิ้วหัวแม่มือ
- มีลายฝ่ามือตัดขวาง 
- ความสูงเตี้ยกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วไป
- มักมีรูปร่างอ้วน
- ลิ้นจุกปาก
- กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน

เมื่อทารกโตขึ้น อาจมีอาการผิดปกติอื่นเพิ่มเติมเกิดขึ้น เนื่องจากการพัฒนาร่างกายที่ผิดปกติ เช่น

- การติดเชื้อที่หู หรือสูญเสียการได้ยิน
- มีปัญหาการมองเห็น
- มีปัญหาทางทันตกรรม
- มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อหรือเจ็บป่วยมากขึ้น
- หยุดหายใจขณะหลับ
- มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ลักษณะอาการด้านสติปัญญา

อาจทำให้เกิดความบกพร่องทางสติปัญญาหรือพัฒนาการได้ เด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมอาจมีพัฒนาการที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป นั่นก็คือ

- ทักษะการเดินและเคลื่อนไหว
- ทักษะการพัฒนาภาษาและการพูด
- ทักษะทางปัญญาและการเรียนรู้
- ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์

ลักษณะทางพฤติกรรม

เด็กที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมอาจแสดงอาการทางพฤติกรรมที่ไม่สามารถสื่อสารความต้องการของตนเองกับผู้ปกครองหรือผู้ดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

- ดื้อรั้นและอารมณ์ฉุนเฉียว
- มีความลำบากต่อการจดจ่อให้ความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
- มีพฤติกรรมครอบงำหรือบีบบังคับ

เด็ก ๆ ที่คลอดออกมาพร้อมกับภาวะดาวน์ซินโดรม ไม่ได้มีเพียงแค่ความผิดปกติด้านร่างกาย การเรียนรู้ และพฤติกรรมที่เป็นความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงในการป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการด้านร่างกาย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องมีวิธีการเลี้ยงดูทารกที่คลอดออกมาพร้อมกับความผิดปกตินี้เป็นพิเศษค่ะ 

ในปัจจุบันนี้คุณแม่สามารถทราบความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์อาจมีภาวะดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นได้ ด้วยการตรวจ NIPT เช่น Qualifi และ Qualifi Premium 24 ที่สามารถทราบความเสี่ยงได้ตั้งแต่คุณแม่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้อายุครรภ์มาก ก็สามารถวางแผนการดูแลครรภ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER