Article

บทความ

cfDNA ที่พูดถึงในการตรวจ NIPT ต่างกับ DNA ยังไง?


คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมการตรวจ NIPT ถึงบอกว่าเป็นการตรวจหาความผิดปกติในระดับ DNA แต่หากหาข้อมูลดูแล้ว จะพบว่าผู้ให้บริการตรวจ NIPT จะบอกว่า NIPT เป็นการตรวจที่ใช้ cfDNA มาใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งมีคุณแม่หลายท่านเกิดความสับสนและเข้าใจผิดไปด้วยว่า การตรวจ NIPT สามารถตรวจหาคุณพ่อของลูกได้ด้วย วันนี้เราจึงมาไขข้อสงสัยนี้ให้กับคุณแม่ที่กำลังวางแผนตรวจ NIPT ให้ทราบกันค่ะ

DNA คืออะไร?

DNA หรือ deoxyribonucleic acid คือ สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยเส้น DNA จะขดรวมตัวกันเป็นโครงสร้างที่เรียกว่าโครโมโซม โดยโครโมโซมจะอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์

cfDNA คืออะไร?

cfDNA หรือ Cell-free DNA คือ ชิ้นส่วนของ DNA ที่แตกออกมาจากเซลล์ เป็นสาย DNA เส้นสั้นๆ แล้วถูกปล่อยสู่ของเหลวภายในร่างกาย เช่น เลือด และ ปัสสาวะ เป็นต้น

DNA และ cfDNA เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการตรวจ NIPT?

ในการตรวจ NIPT เราจะใช้ cfDNA ของลูกในครรภ์ที่หลุดออกมาปะปนอยู่ในเลือดของคุณแม่ ซึ่งในกระแสเลือดของคุณแม่จะมี cfDNA ของทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ การตรวจ NIPT จึงใช้ DNA เส้นสั้นๆ นี้ มาวัดปริมาณเพื่อวิเคราะห์หาความเสี่ยงความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมของทารกในครรภ์ เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ที่เกิดจากการเกินของโครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น

ในขณะที่การตรวจ DNA เพื่อหาความเป็นพ่อลูกนั้น จะใช้ DNA ที่อยู่ในนิวเคลียสในเซลล์เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนระหว่าง DNA ของลูกกับ DNA ของบิดา จึงนิยมใช้สิ่งส่งตรวจเป็นเซลล์ของเด็กโดยตรง ที่ได้จากการเก็บจากกระพุ้งแก้ม หรือเซลล์ที่ได้จากการเจาะน้ำคร่ำ เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
LINE ID: @nggthailand
โทร: 061-391-8999
Website: https://www.nggthailand.com

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

LINE
FACEBOOK
TWITTER