Article

บทความ

ทำไมตรวจดาวน์ซินโดรมด้วย NIPT แล้ว ยังต้องอัลตราซาวน์อยู่เรื่อย ๆ ?

 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจระหว่างการตรวจ NIPT และการอัลตราซาวด์กันก่อนดีกว่าค่ะ การตรวจ NIPT นั้นเป็นการตรวจหาความเสี่ยงความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์ แต่การอัลตราซาวด์ระหว่างการตั้งครรภ์เป็นระยะนั้นเป็นการดูรูปร่างลักษณะของทารกว่ามีความปกติหรือไม่ ซึ่งความเสี่ยงของการเกิดโรคหรือความผิดปกติของร่างกายหลายอย่างไม่สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจ NIPT เช่น โรคหัวใจพิการ การสร้างอวัยวะไม่สมบูรณ์ ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นต้น

 

การตรวจอัลตราซาวด์สามารถช่วยดูพัฒนาการของทารกในครรภ์และอัตราการเจริญเติบโตของทารก หากทารกมีภาวะเติบโตช้าจะเกิดในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ซึ่งคุณหมอจะทราบได้ หากคุณหมอให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก็เป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ลดโอกาสความผิดปกติทางด้านระบบต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงของทารกหลังคลอดได้นั่นเองค่ะ

 

ฉะนั้นถึงแม้ว่าจะตรวจ NIPT ไปแล้ว และคุณแม่ก็ได้รับผลตรวจความเสี่ยงต่ำ (Low risk) คุณหมอก็ยังคงนัดให้คุณแม่ไปอัลตราซาวด์เป็นระยะในช่วงระหว่างที่ตั้งครรภ์เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกและความผิดปกติอื่น ๆ ที่อาจทราบได้ และหากพบความผิดปกติจากการอัลตราซาวด์ก็จะช่วยให้คุณหมอวางแผนการตรวจอื่นๆ รวมถึงการรักษาได้อย่างเหมาะสมนั่นเองค่ะ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER