Services

บริการ

Qualifi และ Qualifi Premium 24


การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal test) เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซมทารกในครรภ์ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคัดกรองประเภทอื่น สามารถรับผลตรวจได้รวดเร็วภายใน 7 วัน ให้คุณแม่ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถเข้ารับการตรวจได้ ไม่มีความยุ่งยากและซับซ้อน เพียงแค่ใช้ตัวอย่างเลือดของคุณแม่ 7-10 cc. เท่านั้น ที่ NGG Thailand เรามีบริการตรวจ

 

• Qualifi Premium 24 NIPT สำหรับคุณแม่ “ครรภ์เดี่ยว” ให้คุณแม่ทราบ

✓ ดาวน์ซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 21)

✓ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 18)

✓ พาทัวซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 13)

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมร่างกายคู่อื่น ๆ (โครโมโซมคู่ที่ 1-22) 

✓ ความผิดปกติของการขาดหรือเกินบางส่วนของโครโมโซมทุกคู่ (Deletion/ Duplication)

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้ทารกบกพร่องทางเชาวน์สติปัญญา

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (โครโมโซมคู่ที่ 23)

✓ เพศของลูก 

 

• Qualifi NIPT สำหรับคุณแม่ “ครรภ์เดี่ยว” ให้คุณแม่ทราบ

✓ ดาวน์ซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 21)

✓ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 18)

✓ พาทัวซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 13)

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้ทารกบกพร่องทางเชาวน์สติปัญญา

✓ ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ (โครโมโซมคู่ที่ 23)

✓ เพศของลูก 

 

• Qualifi NIPT สำหรับคุณแม่ “ครรภ์แฝด” ให้คุณแม่ทราบ

✓ ดาวน์ซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 21)

✓ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 18)

✓ พาทัวซินโดรม (โครโมโซมคู่ที่ 13)

✓ เพศของลูก (โครโมโซม Y)

 

โดยเราเข้าใจดีว่าการตรวจ NIPT อาจเป็นเรื่องใหม่ เป็นการตรวจที่จำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการตรวจ เรามีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) ยินดีให้คำปรึกษาแก่คุณแม่ไปพร้อมกับคุณหมอเพื่อให้คำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้องแก่คุณแม่ทุกท่านค่ะ
 

Qualifi NIPT คืออะไร? ทำให้คุณแม่ทราบความผิดปกติโครโมโซมของลูกได้อย่างไร?
 


Qualifi และ Qualifi Premium 24 เป็นการตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal test) จากห้องปฏิบัติการ NGG Thailand เพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงของความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมทารกในครรภ์ โดยเราเรียกโครโมโซมที่มีจำนวนผิดปกตินี้ว่า Aneuploidy ซึ่งจะมีลักษณะเกินทั้งแท่งโครโมโซม (Trisomy) หรือขาดหายไปทั้งแท่งโครโมโซม (Monosomy) 

 

โดยการตรวจ Qualifi และ Qualifi Premium 24 แบบ NIPT นี้ เป็นการตรวจหาชิ้นส่วน DNA ของทารกและเนื้อรกที่หลุดออกมาปะปนอยู่ในกระแสเลือดของคุณแม่ ซึ่งชิ้นส่วน DNA นี้ เป็นสาย DNA ที่ไม่ได้อยู่ภายในเซลล์ จึงเรียกว่า cell-free DNA (cfDNA) ค่ะ

 

ซึ่งในกระแสเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมี cell-free DNA ของคุณแม่อยู่ประมาณ 90% ส่วนที่เหลืออีก 10% จะเป็น cell-free DNA ของทารกและเนื้อรก หรือเรียกว่า Fetal cell-free DNA ซึ่งส่วนใหญ่มาจากส่วนของเนื้อรก ที่พบว่ามีความใกล้เคียงกับ DNA ของทารกสูงถึง 99% 

 

ดังนั้น หากทารกมีความผิดปกติแบบขาดหรือเกินทั้งแท่งโครโมโซม ก็จะสามารถตรวจพบปริมาณ Fetal cell-free DNA ที่มากกว่าหรือน้อยกว่าค่าปกติ ซึ่งความผิดปกตินี้แหละค่ะที่สามารถบ่งชี้ภาวะความเสี่ยงได้

 

Qualifi สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21, 18, 13 และคู่ที่ 23 ซึ่งเป็นโครโมโซมคู่ที่ทำให้เกิดภาวะดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ สำหรับ Qualifi Premium 24 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ครอบคลุมมากกว่า เพราะเป็นการตรวจที่ทำให้คุณแม่ทราบความผิดปกติของทุกคู่โครโมโซม (23 คู่)

 

สำหรับวิธีการตรวจจะเป็นการนำตัวอย่างเลือดคุณแม่มาเพื่อใช้วิเคราะห์ผลหาความผิดปกติของโครโมโซมทารก จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยไม่มีความเสี่ยง หรืออันตรายต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ อีกทั้งคุณแม่สามารถตรวจได้รวดเร็ว ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ
 

ดาวน์ซินโดรม, เอ็ดเวิร์ดซินโดรม, พาทัวซินโดรม, เพศของลูก รู้ได้ด้วยการตรวจ Qualifi NIPT

 
 

การตรวจ Qualifi NIPT นั้น เป็นการตรวจคัดกรองหาความผิดปกติโครโมโซมทั้งหมด 4 คู่ ประกอบไปด้วยโครโมโซมร่างกาย 3 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ โดยสามารถทราบได้ทั้งการ “ขาด” และ “เกิน” ทั้งแท่งโครโมโซม

 

ซึ่งความผิดปกติโครโมโซมร่างกายทั้ง 3 คู่นี้ ทำให้เกิดภาวะความผิดปกติทางด้านร่างกาย ความบกพร่องทางด้านสติปัญญาของทารก ที่ “พบได้บ่อย” มากกว่าความผิดปกติโครโมโซมลักษณะอื่นและคู่อื่นๆ

 

1. การ “เกิน” ทั้งแท่งของโครโมโซมคู่ที่ 21 “ดาวน์ซินโดรม” ที่เรียกอีกอย่างว่า Trisomy 21 ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะใบหน้าแบนราบโดยเฉพาะสันจมูก ดวงตาเอียงขึ้น คอสั้น หูเล็ก ลิ้นมักจะยื่นออกมาจากปาก ตัวนิ่ม กล้ามเนื้อไม่ดี ข้อต่อหลวม มีเชาวน์ปัญญาต่ำ

 

2. การ “เกิน” ทั้งแท่งของโครโมโซมคู่ที่ 18 “เอ็ดเวิร์ดซินโดรม” ที่เรียกอีกอย่างว่า Trisomy 18 มีลักษณะอาการปากแหว่งเพดานโหว่ นิ้วทับซ้อนกันยืดออกยาก มีความบกพร่องของปอด ไต กระเพาะอาหาร ลำไส้ เท้าผิดรูป หัวใจผิดปกติ พัฒนาการล่าช้าอย่างรุนแรง ทารกที่เป็นเอ็ดเวิร์ดซินโดรมส่วนใหญ่มักเสียชีวิตก่อนการคลอดหรือหลังคลอด

 

3. การ “เกิน” ทั้งแท่งของโครโมโซมคู่ที่ 13 “พาทัวซินโดรม” ที่เรียกอีกอย่างว่า Trisomy 13 ทารกมีศีรษะเล็ก สมองพิการ หูผิดรูป  ใบหูต่ำ ปากแหว่งเพดานโหว่ นิ้วทับซ้อนกันยืดออกยาก มีนิ้วมือหรือนิ้วเท้าเกิน หัวใจพิการ ทารกในครรภ์โตช้าและน้ำหนักน้อย ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตก่อนการคลอดหรือหลังคลอด
 

Qualifi Premium 24 NIPT ไม่ได้คัดกรองแค่ดาวน์ซินโดรม แต่คัดกรองความผิดปกติอื่นๆ ของลูกน้อยในครรภ์ด้วย
 

 

NGG Thailand เราไม่เพียงแค่ให้บริการ Qualifi NIPT ที่ตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซม 4 คู่เท่านั้น (คุณแม่สามารถดูได้จาก: link) แต่ยังมี Qualifi Premium 24 NIPT เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ครอบคลุมมากกว่า เพราะสามารถตรวจคัดกรองหาความผิดปกติโครโมโซมได้ทุกคู่ ซึ่งประกอบไปด้วยโครโมโซมร่างกาย 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ค่ะ 

 

เพราะความผิดปกติของโครโมโซมเป็นความผิดปกติที่ไม่มีสัญญาณบอกล่วงหน้า และไม่สามารถป้องกันได้ อีกทั้งยังไม่เฉพาะเจาะจงด้วยว่า จะเกิดขึ้นกับโครโมโซมคู่ใด ฉะนั้นการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงแบบครบทุกคู่ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณแม่วางแผนการตั้งครรภ์ได้ด้วยความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆ แม้ว่าจะพบได้เป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกในครรภ์ของคุณแม่ทุกคน ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ดังต่อไปนี้ 

 

1. ความผิดปกติโครโมโซมร่างกาย ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เกิดการแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 

2. ส่งผลให้ทารกมีความพิการทางร่างกาย และมีความบกพร่องของหลายอวัยวะ และหลายระบบในร่างกาย

3. ส่งผลให้ทารกเกิดความความบกพร่องทางเชาวน์สติปัญญา พัฒนาการล่าช้า

4. ในบางกรณีพบว่า ความผิดปกติโครโมโซมร่างกายที่เกิดขึ้นที่เนื้อรก ส่งผลให้ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกตัวเล็ก น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ในกรณีรุนแรง อาจทำให้ทารกคลอดก่อนกําหนด หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์

 

ด้วยเหตุนี้ การตรวจ Qualifi premium 24 NIPT จึงเป็นทางเลือกที่ดีของคุณแม่ ที่ต้องการทราบความผิดปกติโครโมโซมครบทุกคู่เพื่อการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ครอบคลุมและลึกซึ้งยิ่งกว่าการตรวจแบบเดิมค่ะ
 

Qualifi NIPT แม่นยำกว่า คุณแม่จึงวางใจในผลตรวจได้มากกว่า
 

 

“ความแม่นยำสูง” ของผลการตรวจ มาจาก “ความไว” และ “ความจำเพาะ” ที่สูง ซึ่งจะทำให้การวินิจฉัยของคุณหมอมีความถูกต้องยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากความไวและความจำเพาะต่ำ ก็จะทำให้ความแม่นยำของผลการตรวจที่ได้ต่ำเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ อาจทำให้การวินิจฉัยของคุณหมอมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ฉะนั้นผลการตรวจที่ออกจากห้องปฏิบัติการควรมีความไวและความจำเพาะที่สูง

 

NGG Thailand เราได้ให้บริการ Qualifi NIPT และ Qualifi Premium 24 ที่ใช้ระบบอัตโนมัติ VeriSeq™ NIPT Solution v2 ในการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการตรวจ NIPT จาก illumina ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับเครื่องหมาย CE-IVD เพื่อสร้างความมั่นใจในความแม่นยำและความน่าเชื่อถือของผลตรวจที่คุณแม่ และคุณหมอจะได้รับ โดยมีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ได้รับเครื่องหมาย CE-IVD ในทุกตัวเลือกการตรวจวิเคราะห์

 

จากภาพเราจะเห็นได้ว่าความไวและความจำเพาะของการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21, 18 และ 13 ในลักษณะ “เกินทั้งแท่ง” หรือ Trisomy 21, Trisomy 18, Trisomy 13 นั้นสูงถึง 99.9% 

 

สำหรับการตรวจความผิดปกติโครโมโซมร่างกายคู่อื่น ๆ ในลักษณะ “เกินหรือขาดทั้งแท่ง” มีความไวมากถึง 96.4% และความจำเพาะ 99.8% 

 

อีกทั้งยังสามารถรายงานผลความผิดปกติโครโมโซมร่างกายในลักษณะ “ขาดหรือเกินเพียงบางส่วน” ซึ่งมีความไว 74.1% และความจำเพาะมากที่ 99.8%

 

โดยถือว่าความไวและความจำเพาะของการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมทั้งในลักษณะขาดหรือเกิน “ทั้งแท่ง” และ ขาดหรือเกิน “บางส่วน” อยู่ในระดับที่สูง จึงทำให้มีความแม่นยำที่สูงค่ะ และ Qualifi NIPT และ Qualifi Premium 24 ยังมีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ ที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คุณแม่และคุณหมอตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการตรวจค่ะ
 

ตรวจ NIPT ผลออกมาเป็นลบ แต่ลูกมีภาวะดาวน์ซินโดรม เพราะอะไร?
 

 

ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องทราบก่อนค่ะว่าการตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal test) เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น โดยมีระดับความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) ต่อการตรวจพบความผิดปกติสูง แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดผลคลาดเคลื่อนได้ โดยผลการตรวจคัดกรองนี้ จะมีความเป็นไปได้ของผลทั้งหมด 4 แบบ ดังต่อไปนี้

 

กรณีได้รับผลบวก หรือ ผลความเสี่ยงสูง มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “ผลบวกจริง” และ “ผลบวกลวง”


1. ผล “บวกจริง” (True Positive) หมายถึง การตรวจคัดกรอง “พบ” ความผิดปกติของโครโมโซม และเมื่อทำการตรวจยืนยันด้วยการตรวจน้ำคร่ำ ก็พบความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์สอดคล้องกัน
 

2. ผล “บวกลวง” (False Positive) หมายถึง การตรวจคัดกรอง “พบ” ความผิดปกติของโครโมโซม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทารกไม่ได้มีความผิดปกติ อาจพบได้ในการตั้งครรภ์แฝดแล้วมีการเสียชีวิตของทารก 1 คน หรือพบในมารดาที่มีภาวะเนื้องอก หรือพบในภาวะที่เนื้อรกมีการปะปนกันของเซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติกับเซลล์ที่มีโครโมโซมปกติ หรือที่เรียกว่า Confined placental mosaicism เป็นต้น

 

กรณีได้รับผลลบ หรือ ผลความเสี่ยงต่ำ มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “ผลลบจริง” และ “ผลลบลวง”

 

3. ผล “ลบจริง” (True Negative) หมายถึง การตรวจคัดกรอง “ไม่พบ” ความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งทารกในครรภ์ก็ไม่ได้มีความผิดปกติโครโมโซมใดๆ กรณีนี้คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ และฝากครรภ์ต่อไปได้ตามปกติจนกระทั่งครบกำหนดคลอด

 

4. ผล “ลบลวง” (False Negative) หมายถึง การตรวจคัดกรอง “ไม่พบ” ความผิดปกติของโครโมโซม แต่ในความเป็นจริงแล้วทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งอาจพบได้ในกรณีที่สารพันธุกรรมของทารกมีปริมาณน้อย หรือพบในภาวะที่มีการปะปนกันของเซลล์แบบ Mosaicism เป็นต้น

 

เราจะเห็นว่าการตรวจ NIPT นั้นมีความแม่นยำสูงก็จริง แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่สามารถส่งผลทำให้เกิดผลลวง ซึ่งนำไปสู่การรายงานผลที่คาดเคลื่อนได้ ดังนั้น การทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของผลตรวจเหล่านี้ก่อน ก็ช่วยให้คุณแม่วางแผนการเลือกตรวจ NIPT รวมถึงการฝากครรภ์หลังได้รับผลการตรวจได้อย่างเหมาะสมค่ะ และการเลือกตรวจ NIPT ที่มีความแม่นยำสูงก็จะช่วยลดอัตราการเกิดผลบวกลวงหรือผลลวงลวงได้เช่นเดียวกันค่ะ
 

ผลตรวจ NIPT ที่ได้ Low risk และ High risk หมายความว่าอะไร?


 

จากครั้งที่แล้วเราได้ทราบแล้วว่า ผลการตรวจ NIPT นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน โดยในการรายงานผล คุณแม่มีโอกาสได้รับผล 3 แบบ ดังนี้

 

1. ตรวจไม่พบความผิดปกติ (No Aneuploidy Detected) หมายถึง มีผล “ความเสี่ยงต่ำ” (Low risk) ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่ทารกจะคลอดออกมาแล้วพบความผิดปกติของโครโมโซมที่ตรวจวิเคราะห์ ซึ่งคุณหมอจะแนะนำให้อัลตราซาวด์เพิ่มเติมในไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์ 

 

2. ตรวจพบความผิดปกติ (Aneuploidy Detected) หมายถึง มี “ความเสี่ยงสูง” (High risk) ที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซมที่มีการตรวจพบ โดยคุณหมอจะแนะนำให้มีการเจาะนำคร่ำเพื่อเป็นการยืนยันผลการตรวจอีกครั้ง 

 

3. ผลก้ำกึ่ง (Aneuploidy Suspected) หมายถึง ทารกมีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมที่ตรวจพบ แต่อยู่ในค่าที่ก้ำกึ่งซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก หากเกิดกรณีนี้ขึ้น คุณหมอจะแนะนำให้มีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อเป็นการยืนยันผลการตรวจด้วยเช่นกันค่ะ 

 

โดยทาง NGG Thailand เราสนับสนุนให้คุณแม่ได้รับการตรวจ NIPT ที่มีคุณภาพสูง อย่าง Qualifi และ Qualifi Premium 24 โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม หรือการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21, 18, 13 มีระดับความไวและความจำเพาะสูงถึง 99.9% อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีระดับสากลมาใช้ในทุกกระบวนการ เพื่อให้ผลการคัดกรอง มี “ความแม่นยำสูง” แก่คุณแม่ที่ได้รับการตรวจทุกท่านค่ะ
 

คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องตรวจ NIPT ทุกคนไหม?

 

 

คุณแม่หลายท่านอาจมีความเข้าใจว่าผู้หญิงตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีความเสี่ยงตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ จึงทำให้คุณแม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี เกิดการละเลยที่จะตระหนักถึงความเสี่ยงค่ะ หากเราย้อนไปดูที่ข้อมูลเราจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าคุณแม่จะอายุเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมได้เช่นเดียวกัน แต่ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุเยอะค่ะ 

 

โดยคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมจะมากกว่าคุณแม่อายุต่ำกว่า 35 ปี แต่คุณแม่ที่มีอายุน้อย ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน แม้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าก็ตาม

 

จากการเก็บข้อมูลทางสถิตินั้นได้พบว่า มากกว่า 80% ของทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมเกิดจากคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ละเลยในการตระหนักถึงความเสี่ยงและไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง สำหรับคุณแม่หลายท่านอาจไม่ได้รับคำแนะนำเพื่อตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงด้วยวิธี NIPT ก็อาจไม่ทราบว่า ตนเองมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีภาวะดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ จึงไม่ได้สนใจและมองข้ามการตรวจคัดกรองนี้ไป

 

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าคุณแม่จะอายุเท่าไหร่ ก็ควรได้รับคำแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมทารกในครรภ์ค่ะ เพราะคุณแม่ทุกท่านและทุกวัย ต่างก็มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ทารกที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมและความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นอีกด้วยค่ะ อีกทั้งการตรวจ NIPT เป็นการตรวจที่ใช้ตัวอย่างเลือดของคุณแม่มาใช้ในการวิเคราะห์ ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ สามารถทำการตรวจได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีการตรวจคัดกรองอื่น ๆ

 

ที่ NGG Thailand เราจึงสนับสนุนให้คุณแม่ทุกท่านที่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เข้ารับการตรวจ NIPT เพื่อทราบภาวะความเสี่ยงของความผิดปกติโครโมโซมทารก เช่น Qualifi และ Qualifi Premium 24 ที่ทำให้คุณแม่สามารถทราบความผิดปกติของโครโมโซมได้ทั้งหมด 23 คู่ เป็นตัวเลือกของคุณแม่ที่ต้องการผลตรวจที่มีความแม่นยำสูงค่ะ
 

คุณแม่ทุกคนตรวจ NIPT ได้ แต่มี 5 ข้อจำกัด ที่ต้องรู้ก่อนตรวจ
 

 

แม้ว่าการตรวจ NIPT อย่าง Qualifi และ Qualifi Premium 24 เป็นการตรวจคัดกรองหาความเสี่ยงความผิดติโครโมโซมที่คุณแม่ทุกท่านสามารถตรวจได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาจมีภาวะที่เป็นข้อจำกัดในการตรวจ ซึ่งหากคุณแม่มีข้อจำกัดทั้ง 5 ข้อนี้ ควรเข้ารับการปรึกษากับคุณหมอผู้ดูแลครรภ์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนเข้ารับการตรวจดังต่อไปนี้

 

1. คุณแม่ที่มีประวัติได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะมาก่อน

2. คุณแม่ที่มีโครงสร้างโครโมโซมผิดปกติ โดยอาจมีความผิดปกติโครโมโซมคู่ใดคู่หนึ่ง

3. คุณแม่ที่อยู่ภายใต้การรักษาด้วยยา ทานยา บางชนิด

4. คุณแม่ที่มีภาวะการเป็นโรคบางชนิด เช่น การมีเนื้องอกหรือโรคมะเร็ง เป็นต้น

5. คุณแม่ที่มีภาวะ Vanishing twins หรือตั้งครรภ์แฝดแล้วมีการเสียชีวิตของทารก 1 คน

 

โดยทั้ง 4 ปัจจัยนี้สามารถส่งผลต่อการวิเคราะห์ DNA ซึ่งอาจทำให้ผลตรวจมีความคลาดเคลื่อน หรือไม่สามารถรายงานผลออกมาได้ ดังนั้น หากคุณแม่มีประวัติของ 1 ใน 5 ข้อข้างต้น จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนทำการเจาะเลือดตรวจ NIPT

 

ที่ NGG Thailand เราตระหนักถึงความแม่นยำในการตรวจและความเข้าใจที่ถูกต้องของคุณแม่ เราจึงมีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) คอยให้คำปรึกษาแนะนำแก่คุณแม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อให้คุณแม่ได้รับการอธิบายผลการตรวจอย่างละเอียด และรับคำปรึกษาอื่น ๆ ร่วมด้วยในทุกกระบวนการตรวจคัดกรองค่ะ
 

ถ้าได้ผลตรวจ NIPT เป็น High risk หรือลูกมีความเสี่ยงภาวะดาวน์ซินโดรม จะทำอย่างไรต่อ?

 
 

การตรวจ NIPT ทำให้คุณแม่ทราบได้ว่าลูกน้อยในครรภ์มีความเสี่ยงเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม และพาทัวซินโดรม เป็นต้น โดยการตรวจจะให้ผลแก่คุณแม่ 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือผล "ความเสี่ยงสูง" และผล "ความเสี่ยงต่ำ" ซึ่งในใบรายงานผลการตรวจ สามารถบอกได้ว่ามีโครโมโซมคู่ไหนที่มีความเสี่ยงค่ะ

 

หากได้ผล "ความเสี่ยงต่ำ" คุณแม่สามารถฝากครรภ์ได้ตามปกติ โดยให้มีการอัลตราซาวด์ในช่วงไตรมาสที่สอง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงด้านอื่นๆ เพิ่มเติม

 

แต่หากได้ผล "ความเสี่ยงสูง" เพื่อให้คุณแม่ทราบผลที่แม่นยำ คุณหมอจะแนะนำให้ทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อยืนยันโดยวิธีอื่น เช่น การเจาะตรวจน้ำคร่ำ เมื่ออายุครรภ์ 17สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ เนื่องจากผลความเสี่ยงสูงนี้อาจมีสภาวะหรือปัจจัยบางอย่างที่สามารถทำให้เกิด ผลบวกลวง หรือ False positive ได้

 

โดยหากผลตรวจน้ำคร่ำได้ผลโครโมโซมปกติ นั่นหมายความว่าลูกน้อยในครรภ์ไม่ได้มีความผิดปกติของโครโมโซม แต่อาจเกิดจากการความคลาดเคลื่อนของการตรวจ NIPT ซึ่งคุณแม่ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ค่ะ

 

แต่หากผลการตรวจน้ำคร่ำพบความผิดปกติของโครโมโซมทารก จะเป็นการยืนยันว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมจริง โดยคุณหมอจะให้คำปรึกษาแนะนำแก่คุณแม่และคุณพ่อ ถึงผลการตรวจและความผิดปกติของทารกที่เกิดขึ้นได้  รวมถึงทางเลือกในการดูแลการตั้งครรภ์ต่อไป โดยขึ้นกับการตัดสินใจของคุณแม่และคุณพ่อเป็นสำคัญค่ะ 

 

การตรวจ NIPT เช่น Qualifi และ Qualifi Premium 24 จาก NGG Thailand สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ แล้วทราบผลภายใน 7 วัน หากคุณแม่ทราบผลการตรวจได้อย่างรวดเร็ว ก็ทำให้การดูแลครรภ์การตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมค่ะ ซึ่งทางเราก็ยังมีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic counselor) คอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำกับคุณแม่ที่เข้ารับการตรวจทุกท่านเพื่อให้คุณแม่มีความเข้าใจในทุกกระบวนการตรวจค่ะ
 

รู้ผลตรวจ Qualifi NIPT แล้วทำไมยังต้องเจาะน้ำคร่ำต่อ?
 

 

การตรวจ NIPT (Non-invasive prenatal test) เป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงความผิดปกติของโครโมโซมหรือที่เราเรียกว่า Prenatal screening test นั่นเองค่ะ 

 

ซึ่งการตรวจคัดกรองสามารถรายงานผลออกมาเป็นผลบวกและผลลบ หากได้ผลการตรวจออกมาเป็นผลบวกจะต้องมีการยืนยันความผิดปกตินั้นด้วยการตรวจวินิจฉัยหรือที่เรียกว่า Diagnostic test อีกครั้ง โดยมีทั้งการตรวจน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หรือการเก็บตัวอย่างชิ้นรกเพื่อนำไปตรวจวินิจฉัย (Chorionic villus sampling) ค่ะ

 

คุณแม่หลายคนอาจเกิดคำถามว่าแล้วทำไมไม่ตรวจวินิจฉัยทีเดียวไปเลย เพราะไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ? 

 

สำหรับการตรวจวินิจฉัยนั้น เป็นการตรวจที่ใช้ยืนยันผลความผิดปกติของโครโมโซม ยกตัวอย่างเช่น การตรวจน้ำคร่ำ จะต้องมีการเจาะถุงน้ำคร่ำเข้าไปเพื่อเก็บตัวอย่าง โดยการตรวจประเภทนี้ มีความเสี่ยงในการรบกวนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ จึงมีโอกาสทำให้คุณแม่แท้งบุตรได้ หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ค่ะ

 

หากเปรียบเทียบความแม่นยำของการตรวจคัดกรองและการตรวจวินิจฉัยแล้ว ถือว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำที่สูงมากกว่าการตรวจคัดกรองประเภทอื่น ๆ ฉะนั้นหลังจากที่คุณแม่เข้ารับการตรวจ NIPT แล้วได้ผลเป็นลบก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพื่อหาความผิดปกติโครโมโซมของทารกในครรภ์ เป็นการตรวจที่ช่วยให้คุณแม่มั่นใจกับผลการตรวจที่มีความแม่นยำได้ 

 

สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เลือกตรวจ NIPT แต่เลือกตรวจด้วยวิธีการวินิจฉัย อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ แม้ว่าผลการตรวจที่ได้จะเป็นตรวจพบหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งการตรวจ NIPT นั้นสามารถทำการตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์น้อย แต่การตรวจวินิจฉัยจำเป็นต้องรอให้คุณแม่มีอายุครรภ์ 17 สัปดาห์ขึ้นไปเท่านั้นค่ะ
 

แนวทางการเลือกตรวจ Qualifi NIPT กับ NGG Thailand

 

 

Qualifi และ Qualifi Premium 24 เป็นบริการตรวจ NIPT จาก NGG Thailand ที่มีความละเอียดและความแม่นยำสูง โดยมีทั้งการตรวจแบบคัดกรองโครโมโซมคู่หลักที่พบบ่อย และคัดกรองทุกคู่โครโมโซม ให้คุณแม่ได้เลือกตามความต้องการและความเหมาะสม สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านจำนวนโครโมโซมที่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านสมองและความพิการต่าง ๆ ของร่างกาย การตรวจคัดกรองนี้จึงช่วยให้คุณแม่สามารถวางแผนตั้งครรภ์ต่อไปในอนาคตของลูกน้อยได้อย่างหมาะสมได้ค่ะ

 

โดยการตรวจ Qualifi Premium 24 เป็นการตรวจสำหรับคุณแม่ครรภ์เดี่ยวเท่านั้น สามารถคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ทุกคู่ ทั้งโครโมโซมร่างกายคู่ที่ 1 ถึง 22 และโครโมโซมเพศคู่ที่ 23 เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม และภาวะความผิดปกติอื่น ๆ ฉะนั้นคุณแม่ที่เข้ารับการตรวจจะสามารถทราบความผิดปกติของโครโมโซมที่ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์และโครโมโซมที่ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้อย่างละเอียด และครอบคลุมค่ะ 

 

สำหรับ Qualifi เป็นการตรวจที่คุณแม่ครรภ์เดี่ยว และคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดสามารถเข้ารับการตรวจได้ เป็นการคัดกรองหาความผิดปกติโครโมโซมที่พบได้บ่อยคือ โครโมโซมคู่ที่ 21, 18, 13 ที่ทำให้เกิด ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม พาทัวซินโดรม สำหรับโครโมโซมคู่ที่ 23 หรือโครโมโซมเพศ คุณแม่ครรภ์เดี่ยวจะทราบความผิดปกติของโครโมโซมเพศ และเพศของลูก ในขณะที่คุณแม่ครรภ์แฝด จะทราบเฉพาะเพศของลูก (โครโมโซม Y) เท่านั้น

 

ทั้งการตรวจ Qualifi Premium 24 และ Qualifi จาก NGG Thailand จึงเป็นทางเลือกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการตรวจ NIPT โดยเราได้มีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คุณแม่ที่เข้ารับการตรวจโดยเฉพาะเพื่อสามารถเข้าใจกระบวนการตรวจและผลการตรวจที่ได้ได้อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกันค่ะ
 

คุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรถ้าจะตรวจ Qualifi NIPT?

 
 

คุณแม่หลายคนอาจคิดว่าการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมนั้น อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากหรือต้องเจ็บตัวจากการตรวจ แต่ที่จริงแล้วการตรวจ NIPT อย่าง Qualifi และ Qualifi Premium 24 มีแค่ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1 คือการเข้ารับคำปรึกษากับคุณหมอเพื่อขอรับการตรวจ ซึ่งคุณแม่สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับ Qualifi และ Qualifi Premium 24 กับคุณหมอผู้ดูแลครรภ์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อเลือกประเภทการตรวจที่เหมาะสมกับตนเองได้ หรือสามารถเข้ารับคำปรึกษากับที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ของ NGG Thailand เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจก่อนได้ค่ะ

 

ขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่คุณแม่เลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับตัวเองได้แล้ว จะเป็นการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่ประมาณ 7-10 cc เพื่อนำมาใช้ในการตรวจ โดยคุณแม่ไม่ต้องงดน้ำ หรืออาหาร สำหรับคุณแม่ที่เลือกการตรวจแบบ @HOME Service จะมีพยาบาลเดินทางเพื่อไปเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่จากที่บ้านค่ะ

 

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อได้ตัวอย่างเลือดของคุณแม่แล้ว จะถูกนำส่งมายังห้องปฏิบัติการของ NGG Thailand ซึ่งตัวอย่างเลือดจะถูกเก็บไว้ในกล่องอย่างดีเพื่อรักษาระดับคุณภาพของเลือดไว้ให้สมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทางพันธุศาสตร์จะนำตัวอย่างเลือดของคุณแม่ไปวิเคราะห์และอ่านผลด้วยเทคโนโลยี Robotics และ AI 

 

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการวิเคราะห์และอ่านผล NGG Thailand จะส่งผลการตรวจให้กับคุณหมอผู้ดูแลเพื่ออ่านผลการตรวจให้กับคุณแม่ได้ทราบภายใน 5-7 วัน ซึ่งตลอดการตรวจทางเราได้มีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) ให้คำแนะนำปรึกษาแก่คุณแม่ที่เข้ารับการตรวจตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการค่ะ 

 

Qualifi และ Qualifi Premium 24 มีให้บริการในหลายโรงพยาบาล และคลินิกชั้นนำทั่วประเทศ โดยในขั้นตอนการตรวจเหล่านี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ หรืองดอาหาร ก่อนเข้ารับการตรวจ เพียงแค่คุณแม่พักผ่อนให้เพียงพอและดูแลตนเองตามปกติก็เข้ารับการตรวจได้ อีกทั้งยังสามารถให้บริการ @HOME Service หรือบริการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่จากที่บ้านได้เช่นกันค่ะ
 

ทำไมคุณแม่ที่ต้องการผลที่แม่นยำจึงเลือกตรวจ Qualifi NIPT กับ NGG Thailand?
 

 

NGG Thailand เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์การเจริญพันธุ์ และการดูแลครรภ์ ที่ว่าที่คุณแม่ คุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณหมอจากสถานพยาบาลชั้นนำ เลือกตรวจ NIPT กับ Qualifi และ Qualifi Premium 24 เพราะ …

 

• ได้รับการรับรองเครื่องหมาย CE-IVD และ ISO ซึ่งเป็นมาตรฐานการตรวจที่มีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูง โดยเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

 

• มีความน่าเชื่อถือ โดยใช้เทคโนโลยี illumina VeriSeq™ NIPT Solution v2 จากบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ชั้นนำของโลกอย่าง Illumina ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทันสมัย เป็นระบบอัตโนมัติ (Robotics) ทุกขั้นตอน

 

• คุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้ในสถานพยาบาลหลายแห่ง ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย อีกทั้งยังมีบริการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณแม่จากที่บ้านด้วยบริการ @HOME service

 

• สะดวกและปลอดภัย ใช้ตัวอย่างเลือดจากคุณแม่เพียง 7-10 cc. โดยไม่มีความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หรือเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

 

• คุณแม่สามารถทราบผลรวดเร็วภายใน 7 วัน จากห้องปฏิบัติการ NGG Thailand ที่ตั้งและปฏิบัติการในประเทศไทย ไม่จำเป็นต้องรอผลการตรวจนาน ซึ่งทำให้คุณแม่สามารถวางแผนการตั้งครรภ์กับคุณหมอผู้ดูแลได้ต่อไปได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ได้รับผลการตรวจที่เป็นมาตรฐานสากล

 

• สามารถตรวจคัดกรองได้ครอบคลุมทั้งโครโมโซมร่างกายทุกคู่ และโครโมโซมเพศ (ตั้งแต่คู่ที่ 1-23) ด้วยความแม่นยำสูง โดยมี Qualifi ที่สามารถตรวจโครโมโซมคู่ที่ 21, 18, 13, 23 และ Qualifi Premium 24 ที่ตรวจได้ทุกคู่ เป็นตัวเลือกให้กับคุณแม่

 

• ไม่มีข้อจำกัดในครรภ์เดี่ยวหรือครรภ์แฝด การตั้งครรภ์ธรรมชาติหรือเด็กหลอดแก้ว ก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ โดยมี 2 ตัวเลือกให้กับคุณแม่ นั่นคือ Qualifi สำหรับคุณแม่ครรภ์เดี่ยวและครรภ์แฝด และ Qualifi Premium 24 สำหรับคุณแม่ครรภ์เดี่ยวค่ะ

 

• ห้องปฏิบัติการและกระบวนการทำงานมีนักวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกให้การดูแลเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่อยู่ในระดับมาตรฐานระดับสูงที่เราได้ตั้งไว้ ซึ่งได้รับการรับรองคุณภาพ ISO 15189 และ ISO 15190 (Medical Laboratory) และ CAP (College of American Pathologists)

 

• ให้คำปรึกษาส่วนบุคคลโดยที่ปรึกษาพันธุศาสตร์ (Genetic Counselor) ทั้งก่อนและหลังให้บริการ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการเข้ารับการตรวจตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการตรวจ

 

เราได้พัฒนามาตรฐานมาโดยตลอดและยินดีให้คำปรึกษาแก่คุณแม่ทุกท่าน เพื่อให้คุณแม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์ในการสร้างสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยไปด้วยกัน คุณแม่ที่มีความต้องการผลการตรวจคัดกรองที่มีความแม่นยำสูงและวางใจกับผลการตรวจได้จึงเลือก Qualifi และ Qualifi Premium 24  จาก NGG Thailand นั่นเองค่ะ
 

คุณแม่ที่เลือกตรวจ Qualifi NIPT กับ NGG Thailand
 

Qualifi และ Qualifi Premium 24 เป็นการตรวจ NIPT ที่ได้รับความไว้วางใจจากคุณแม่หลายท่านที่ต้องการความแม่นยำของผลการตรวจคัดกรอง หากคุณแม่กำลังมองหาการตรวจดาวน์ซินโดรมหรือความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ ให้กับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้หรือยังมีข้อมูลไม่มากพอในการตัดสินใจ เราอยากชวนคุณแม่มาดูความประทับใจของคุณแม่ที่เข้ารับการตรวจกับเราก่อนค่ะ
 

 

คุณโอซา แวง จากความต้องการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ได้ผลการตรวจที่รวดเร็ว และการตรวจคัดกรองที่เป็นมาตรฐานระดับสากล แม่นยำ จึงเลือกการบริการกับเรา ดูความประทับใจของคุณแม่ได้ที่: https://www.instagram.com/p/CFPKxvDHCZf/ 
 

 

คุณเจนจิรา พรหมศิริ คุณแม่เจนนี่ ผู้ทำงานในสายเวชภัณฑ์และสุขภาพ ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่มากขึ้น จึงเลือกการตรวจที่มีความแม่นยำสูง ดูความประทับใจของคุณแม่ได้ที่: https://fb.watch/d69cjE1i87/
 

 

คุณสวรรยา ชิตพูล คุณแม่เวิล์ดกับการตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มาพร้อมกับความกังวล ที่ไม่อยากเสี่ยงกับความปลอดภัยของลูก จึงเลือกตรวจ Qualifi ที่ปลอดภัยกับลูก และมาตรฐานสูง ไร้ความกังวลใจ ดูความประทับใจของคุณแม่ได้ที่: https://fb.watch/d69dHsKYr_/ 

 

ไม่เพียงเท่านี้ที่ NGG Thailand เราเข้าใจว่าในกระบวนการตรวจ NIPT นั้นอาจเป็นเรื่องใหม่ คุณแม่หลายท่านจึงต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ เราจึงมีที่ปรึกษาทางพันธุศาสตร์ (Genetic Counsellor) ที่ยินดีให้คำปรึกษากับคุณแม่ร่วมกับคุณหมอตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการตรวจค่ะ
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

LINE ID: @nggthailand

โทร: 061-391-8999

Website: https://www.nggthailand.com

 

#NGGThailand #GenomeForHealthierLife #ตรวจดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ #ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม #คัดกรองดาวน์ซินโดรม #ดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดตรวจดาวน์ซินโดรม #เจาะเลือดคัดกรองดาวน์ #ตรวจเลือดดาวน์ซินโดรม #ตรวจเลือดคัดกรองดาวน์ซินโดรม #ตรวจดาวน์ซินโดรมที่ไหนดี #ตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ #ตรวจNIPT #NIPT #Qualifi #QualifiPremium24 #NGS #NextGenerationSequencing #ตรวจNGS

 

LINE
FACEBOOK
TWITTER